วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปวิจัย

เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย
ที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
ปริญานิพนธ์
ของ
สุมาลี  หมวดไธสง

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
พฤษภาคม 2554
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ



บันทึกอนุทินครั้งที่ 2 วัน อังคาร ที่ 25 สิงหาคม 2558


The Knowledge Gained

พัฒนาการทางสติปัญญา(Cognitive development)
   ความหมาย  ความเจริญงอกงามด้านคววามสามารถ ทางภาษาของแต่ละบุคคลพัฒนาขึ้นมาจาก
การมีปฏิสัมพันธ์ (interaction) กับสิ่งแวดล้อม
- เริ่มตั้งแต่แรกเกิด ผลของการปฏิสัมพันธ์จะทำให้เด็กรู้จัก "ตน" (self) เพราะตอนแรกเกิดจะยังไม่สามารถแยก "ตน" ออกจากสิ่งแวดล้อมได้
- การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมเป็นกระบวนการต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาและตลอดชิวิิตทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุล (equilibrium)
- การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม
กระบวนการปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ประกอบด้วย 2 กระบวนการ
1. กระบวนการดูดซึม (assimilation)
2. กระบวนการปรับโครงสร้าง (accommodation) มีดังนี้
  2.1.การปรับตัวเข้าสู่ภาวะสมดุล
  2.2.การดูดซึมเพื่อรับประสบการณ์ใหม่
  2.3.การปรับโครงสร้างเป็นการปรับโครงสร้างความคิดเดิมให้สอดคล้องเหมาะสมกับปรัสบการณ์ใหม่ที่ได้รับเข้ามา
  2.4.การปรับแนวคิดและพฤติกรรมจะทำให้เกิดภาวะสมดุล

Gain Skills

- Listening Skills
- Thinking Skills
- Skills quiz

Adoption

   ได้รู้พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กว่าเด้กนั้นเขาจะเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้อย่างไรเป็นไปในทิศทางใดทำให้การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กเป็นไปอย่างราบรื่น

Teaching Methods

- ใช้ Program Mind Map
- ใช้ Program Powerpoint
- ใช้การบรรยายอธิบายความรู้
- ใช้เทคนิคการถาม-ตอบ

Rating Friends

เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนแต่เนื่องด้วยห้องเรียนไม่เอื้ออำนวยจึงทำให้การเรียนครั้งนี้ค่อนข้างลำบาก

Teacher Evaluation

อาจารย์เตรียมพร้อมในการสอนเป็นอย่างดีมีการใช้เทคโนโลยีและการสอนแบบใหม่ๆ ให้นักศึกษารู้จักการคิดวิเคราะห์

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปบทความ


ผู้เขียน: อาจารย์ นิติธร ปิลวาสน์ ศึกษานิเทศก์

     การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiment) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียนรู้ ด้วยการเปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นหาคำตอบจากการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ผ่านประสบการณ์ตรงที่เป็นรูป ธรรม เน้นขั้นตอนการคิด การค้นคว้า การทดลอง และการสรุปผล จากการเรียนรู้การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าอย่างเป็นกระ บวนการจนพบความรู้ ทำให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะที่มีความจำเป็นในการแสวง หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คือ มีพฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถหรือความชำนาญที่เกิดจากการปฏิบัติหรือฝึกฝนกระ บวนการคิดอย่างเป็นระบบ โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการรับรู้ การค้นหาความรู้และแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะเบื้องต้นที่มีความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันเหมาะสมกับเด็กในช่วงปฐมวัย ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อสาร ทักษะการลงความเห็น และทักษะการพยากรณ์
การทดลองทางวิทยาศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร?
     การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiment) เป็นกิจกรรมที่ตอบสนองต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการเล่น การปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และจากการได้ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ เช่น การฟัง การเห็น การชิมรส การดมกลิ่น การสัมผัสจับต้องสิ่งต่างๆ กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นการจัดกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นความสามารถทางด้านสติปัญญาที่สามารถฝึกฝนให้กับเด็กปฐมวัยได้ด้วยการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้โอกาสปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ดังที่ ฌอง เพียเจท์ (Jean Piaget) กล่าวว่า พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นผลมาจากการที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เด็กจะเรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมก่อนเข้าสู่การเรียนรู้ที่เป็นนามธรรม และพัฒนาการทางสติปัญญาจะเป็นไปตามลำดับขั้น และสอดคล้องกับแนวคิดของ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ที่กล่าวว่า ประสบการณ์สำหรับเด็กเกิดขึ้นได้ต้องใช้ความคิดและการลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ การทดลอง และการค้นพบด้วยตนเอง ดังนั้น รูปแบบการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงคำนึงถึงพัฒนาและธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก โดยเฉพาะวุฒิภาวะ ความพร้อม และการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสามารถทางสมองของเด็ก เป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาเป็นอันดับแรก สำหรับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หรือทักษะกระ บวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นความสามารถในการปฏิบัติและฝึกฝนกระบวนการคิดในการแสวงหาความรู้ ตลอดจนการแก้ ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างคล่องแคล่วชำนาญ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Basic Science skills) ที่ควรฝึกฝนให้เกิดกับเด็กปฐมวัยสามารถแยกได้เป็น 6 ประเภทดังนี้
-ทักษะการสังเกต (Observing) หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันเข้าสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือปรากฏการณ์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อหารายละเอียดนั้นๆ เช่น
การให้เด็กสังเกตสีของผลไม้และบอกครูว่ามีสีอะไรบ้าง
การให้เด็กฟังเสียงร้องของนกชนิดต่างๆแล้วบอกว่าเป็นเสียงนกอะไรบ้าง
หรือการให้เด็กชิมรสชาติของน้ำผลไม้และบอกว่าเป็นรสชาติของผลไม้ใดบ้าง เป็นต้น
-ทักษะการวัด (Measuring) หมายถึง ความสามารถในการใช้เครื่องมือวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆได้อย่างถูกต้องโดยมีหน่วยกำกับและรวมไปถึงการใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง เช่น การวัดความยาวของโต๊ะเรียน การวัดความสูงของเก้าอี้ การวัดความหนาของหนังสือ สำหรับเด็กปฐมวัยหน่วยการวัดเด็กอาจจะเลือกเอง เช่น เด็กอาจจะวัดความยาวของโต๊ะโดยใช้เชือกผูกรองเท้าแล้วบอกว่า โต๊ะเรียนตัวนี้ยาวเท่ากับเชือกผูกรองเท้า 2 เส้น เป็นต้น
-ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying) หมายถึง ความสามารถในการจัดจำแนกหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์ต่างๆออกมาเป็นหมวดหมู่โดยมีเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา 3 ประการ คือ ความเหมือน ความต่าง และความ สัมพันธ์ เช่น การให้เด็กจำแนกผักด้วยเกณฑ์ต่างๆ เช่น ใช้สีเป็นเกณฑ์ ใช้รูปร่างเป็นเกณฑ์ หรือใช้ผิวสัมผัสเป็นเกณฑ์ เป็นต้น
-ทักษะการสื่อสาร (Communicating) หมายถึง ความสามารถในการแสดงผลข้อมูลจากการสังเกต การทดลอง นำมาจำ แนก เรียงลำดับ และนำเสนอด้วยการเขียน แผนภาพ แผนผัง แผนที่ เช่น การให้เด็กปฐมวัยสำรวจจำนวนผักชนิดต่างๆที่อยู่ในตะกร้า และเด็กอาจจะสื่อสารด้วยการนำเสนอออกมาเป็นภาพวาดผักที่แสดงจำนวนผักแต่ละชนิด เด็กอาจจะวาดรูปมะเขือ 5 ผล แตงกวา 7 ผล ผักชี 4 ต้น ลักษณะของการนำเสนอจะขึ้นอยู่กับระดับความสามารถและความต้องการของเด็ก ทักษะการสื่อสารและวิธีการนำเสนอจะมีความซับซ้อนมากขึ้นตามระดับอายุและสติปัญญาของเด็ก
-ทักษะการลงความเห็น (Inferring) หมายถึง ความสามารถในการนำเสนออธิบายข้อมูลที่มีอยู่ซึ่งได้มาจากการสังเกต การวัด การทดลอง โดยเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมเพื่อสรุปลงความเห็นเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆ เช่น การจัดกิจ กรรมให้เด็กสำรวจพืชน้ำ จากการที่เด็กได้ไปสังเกตลักษณะของพืชน้ำ แล้วสรุปลงความเห็นว่า พืชน้ำมีลักษณะต้นกลวง นิ่ม มีท่ออยู่ในลำต้น มีรากเป็นกระจุก เช่น ผักตบชวา ผักกะเฉด ผักบุ้ง จอก แหน เป็นต้น
ทักษะการพยากรณ์ (Predicting) หมายถึง ความสามารถในการทำนายหรือคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยอาศัยการสังเกตปรากฏการณ์ซ้ำๆ และนำความรู้ที่เป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฎีในเรื่องนั้นๆมาช่วยในการทำนายภายในขอบเขตของข้อมูล (Interpolating) และภายนอกขอบเขตของข้อมูล (Extrapolating) เช่น จากการที่เด็กสังเกตว่าก่อนฝนตกจะมีเมฆมากและท้องฟ้ามืดครึ้ม มีลมพัดและเสียงฟ้าร้อง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เด็กรับรู้มาก่อน ดังนั้น เมื่อมีปรากฏการณ์ดังกล่าวร่วมกันในครั้งต่อมา เด็กจะพยากรณ์ได้ว่าถ้ามีลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้น เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อมาคือฝนตก เป็นต้น สำหรับ-ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อื่นๆที่มีความยากและซับซ้อนจะนำไปสอนในระดับที่สูงขึ้น เช่น ทักษะการตั้งสมมติฐาน ทักษะการคิดคำนวณ ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร เป็นต้น
การจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมหนึ่งที่จัดให้กับเด็กปฐมวัยในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์หรือกิจกรรมในวงกลม เพื่อมุ่งพัฒนาให้เด็กได้เรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้และเพื่อสร้างความคิดรวบยอดในสิ่งที่ได้เรียนรู้ ลักษณะของการจัดกิจกรรมเป็นกระบวนการและมีขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน ครูเป็นผู้ตระเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการทดลองไว้อย่างพร้อมเพรียง ก่อนที่เด็กจะลงมือปฏิบัติกิจกรรม ครูอาจจะอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมก่อน แล้วให้เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ขณะเด็กปฏิบัติกิจกรรม ครูเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์และช่วยเหลือเด็กตามความเหมาะสม และเมื่อเสร็จสิ้นการจัดกิจกรรม ครูให้เด็กออกมานำเสนอหรืออภิปรายสิ่งที่ได้จากการทดลอง ทั้งนี้เพื่อให้เด็กสรุปสิ่งที่ค้น พบด้วยตนเองทุกครั้ง และถือว่าการเรียนรู้โดยการใช้กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นศูนย์ กลาง (Child – centered) และสะท้อนการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ (Constructivism) โดยทั่วไปแล้วการจัดกิจ กรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์จะเป็นกิจกรรมที่ครูปฐมวัยจัดให้เด็กทำการทดลองสัปดาห์ละ 1 ครั้งตามหน่วยการเรียนรู้ เช่น การเรียนรู้หน่วยน้ำ ครูจะให้เด็กได้เรียนรู้ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสนทนาอภิปรายเกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำ การสาธิตวิธีการกรองน้ำด้วยเครื่องกรองน้ำ การทดลองกรองน้ำด้วยวิธีการที่เด็กเลือก การไปศึกษานอกสถานที่โดยพาเด็กไปดูโรงงานผลิตน้ำดื่ม เป็นต้น
ครูจัดกิจกรรมให้ลูกทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนอย่างไร?
      การจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สามารถบูรณาการกิจกรรมทดลองไว้ในกิจกรรมตามตารางกิจกรรมประจำวันสำหรับเด็กปฐมวัย เช่น เสริมประสบการณ์หรือกิจกรรมในวงกลม กิจกรรมสร้างสรรค์ เนื้อหาที่นำมาทด ลองจะยึดหน่วยหรือหัวเรื่องที่เด็กเรียนรู้เป็นหลัก เช่น
การเรียนรู้ หน่วยน้ำ ครูจัดกิจกรรมการทดลองวิธีการกรองน้ำให้สะอาด เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้มโนทัศน์เกี่ยวกับเรื่องวิธีการทำให้น้ำสะอาด จากการทดลองวิธีการกรองน้ำ ครูอาจจัดวัสดุอุปกรณ์ต่างๆเพื่อให้เด็กได้เลือกและค้นหาวิธีการที่เหมาะสมในการกรองน้ำ
ส่วนการเรียนรู้ หน่วยผลไม้ อาจจัดกิจกรรมทดลองเพื่อพิสูจน์เกี่ยวกับส่วนประกอบของผลไม้ว่า ผลไม้แต่ละชนิดมีส่วน ประกอบเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร โดยครูแบ่งกลุ่มเพื่อให้เด็กทดลองเป็นกลุ่ม และมีการเปรียบเทียบผลการพิสูจน์ของแต่ละกลุ่มได้ เช่น เงาะจะมีส่วนประกอบคือ เปลือก เนื้อ และมีเมล็ดเดียว สับปะรดประกอบด้วยเปลือก และเนื้อ ไม่มีเมล็ดแต่มีแกนอยู่ส่วนตรงกลาง แตงโมประกอบด้วยเปลือก เนื้อสีแดง และมีเมล็ดหลายเมล็ด
สำหรับการบูรณาการการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในกิจกรรมสร้างสรรค์สามารถจัดให้กับเด็กได้ เช่น การเรียนรู้ หน่วยดอก ไม้ สามารถจัดกิจกรรมการทดลองสีจากดอกไม้ในการสร้างสรรค์งานทางศิลปะได้ เช่น ใช้สีแดงจากดอกกุหลาบ สีเหลืองจากดอกดาวเรือง สีน้ำเงินจากดอกอัญชัน เป็นต้น นอกจากครูจะบูรณาการกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ไว้ในกิจ กรรมประจำวันแล้ว ยังสามารถจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ไว้เป็นการเฉพาะและนำไปจัดเพื่อเป็นกิจกรรมเสริมในช่วงเวลาอื่นๆได้ เช่น จัดไว้ในมุมวิทยาศาสตร์ จัดในช่วงตอนพักกลางวันหรือช่วงก่อนเด็กกลับบ้าน ฯลฯ

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1 วัน อังคาร ที่ 11 สิงหาคม 2558

The Knowledge Gained

คุณสมบัติของบันฑิต  6 ด้าน
1) ความรู้
2) คุณธรรม
3) เทคโนโลยีสารสนเทศ
4) ทักษะทางด้านปัญญา
5) ความสัมพันธ์ทักษะทางด้านสังคม
6) การจัดการเรียนรู้
คำสำคัญ 3 คำ มีดังนี้
 1) เด็กปฐมวัย
 การจัดประสบการณ์ต้องให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
     * พัฒนาการ คือ ความสามารถที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอน
     * ภาษาและคณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมือการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็ก
     * วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ปฏิบัติจริงดดยใช้ประสาทผัสทั้ง 5 พร้อมกัน
2) วิทยาศาสตร์
สาระสำคัญ 4 ด้าน
  - เกี่ยวกับเด็ก
  - บุคคลและสถานที่
  - ธรรมชาติรอบตัว
  - สิ่งต่าง ๆ รอบตัว
ทักษะทางวิทยาศาสตร์มีดังนี้
  - ทักษะการสังเกต
  - จำแนกประเภท
  - การสื่อความหมาย
  - การลงความคิดเห็นจากข้อมูล
  - หาความสัมพันธ์ระหว่างสเปลสกับสเปลส สเปลสกับเวลา การคำนวน
3) การจัดประสบการณ์
  - หลักการจัดประสบการณ์
  - เทคนิคการจัดประสบการณ์
  - กระบวนการจัดประสบการณ์
  - ทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์
  - สื่อและสภาพแวดล้อมสนับสนุนการจัดประสบการณ์
  - การประเมิน

Gain Skills

  - Listening Skills
  - Thinking Skills
  - Skills quiz

Adoption

    รู้หลักวิธีการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัยการจัดประสบการณ์ต่างๆ จะต้องทำให้สอดคล้องกับพัฒนาของเด็กแต่ละช่วงวัยเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้สมวัย

Teaching Methods

  - ใช้ Program Mind Map
  - ใช้ Program Powerpoint
  - แจกแนวการสอน 

Rating Friends

   เนื่องจากเปิดเทอมวันแรกเพื่อน ๆ ไม่ค่อยมีการเตรียมพร้อมไม่มีสมุดบันทึกสิ่งที่อาจารย์พูดและเพื่อนๆ ก็ยังมากันไม่ครบมาเรียนน้อย

Teacher Evaluation        

   อาจารย์เตรียมพร้อมในการสอนเป็นอย่างดีมีแนวการสอนและอธิบายเบื้องต้นในการเรียนการสอน